เว็บไซต์ส่วนตัว
หน้าแรก
ประวัติส่วนตัว
ความภาคภูมิใจ
สมุดเยี่ยม
เมื่อพูดถึงสื่อหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ก็คงจะหนีฮาร์ดดิสก์ไปไม่พ้นเพราะฮาร์ดดิสก์คือแหล่งที่ใช้เก็บข้อ มูลบนคอมพิวเตอร์ที่มีความสำคัญเพราะมันจะเก็บข้อมูลทั้งหมดตั้งแต่ระบบปฏิบัติการ โปรแกรมใช้งานและข้อมูล เมื่อคุณได้รู้จักกับฮาร์ดดิสก์แล้วว่ามีความสำคัญต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณอย่างไร แล้วมาดูขั้นตอนการติดตั้ง ฮาร์ดดิสก์กันดีกว่า

ขั้นตอนในการติดตั้งฮาร์ดดิสก์
ผมจะขออธิบายเฉพาะการติดตั้งฮาร์ดดิสก์แบบ E-IDE เท่นนั้นเพราะสำหรับการติดตั้งฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI นั้น จะมีวิธีการที่ยุ่งยากกว่ามาก อาจจะต้องให้ผู้ที่เชี่ยวชาญมาติดตั้งให้จะเป็นการดีกว่า
1. กราวน์ตัวเองโดยเอามือไปสัมผัสกับตัวเคส
2. สำรวจจัมเปอร์ที่อยู่บนตัวฮาร์ดดิสก์ว่าเสียบอยู่ถูกต้องแล้วหรือยัง ซึ่งจะต้องมีการเซตให้เป็น Master สำหรับ การใช้งานเป็นไดรว์ C และ เป็น Slave สำหรับการใช้งานเป็นไดรว์อื่นๆ แต่คุณก็สามารถดูวิธีการเชตจัมเปอร์นี้ได้ จากคู่มือการ เซตจัมเปอร์ที่จะอยู่บนตัวฮาร์ดดิสก์ หรือในคู่มือการติดตั้ง
3. จัดหาที่ว่างภายในเคส เพื่อใส่ฮาร์ดดิสก์แข้าไป ฮาร์ดดิสก์รุ่นใหม่จะมีขนาดเพียง 3.5 นิ้วซึ่งสามารถที่จะใส่ลงไป ในช่องที่มีขนาดเล็กภายในเคสได้พอดี แต่ถ้าเคสของคุณไม่มีช่องขนาดเล็กเพียงพอสำหรับการใส่ฮาร์ดดิสก์แล้วเคสบางตัวก็ จะมีช่องสำหรับใส่ฮาร์ดดิสก์มาให้เป็นพิเศษ ซึ่งอาจจะอยู่ด้านหลังหรือด้านข้างของเคส ไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่ด้านหน้าเสมอ ไป เพราะมันไม่มีส่วนที่จะต้องติดต่อกับภายนอกเหมือนกับฟลอปปี้ดิสก์หรือซีดีรอมไดรว์ แต่ถ้าไม่มีช่องสำหรับใส่ฮาร์ดดิสก์ อยู่อีก คุณก็จะเหลืออีกหนทางเดียวในการใส่ฮาร์ดดิสก์ ก็คือใส่ลงไปในช่องขนาด 5.25 นิ้ว ที่มีขนาดเดียวกันกับซีดีรอมไดรว์ แต่จะใส่ลงไปได้อย่างไร ในเมื่อขนาดมันก็เป็นคนละขนาดกัน ในกรณีนี้คุณคงจะต้องไปหาซื้อกล่องสำหรับใส่ไดรว์ขนาดเล็ก เพิ่มเติม ซึ่งกล่องดังกล่าวนี้จะมีขนาดที่ใส่ลงไปในช่องขนาด 5.25 นิ้วได้พอดีแต่ภายในกล่องก็จะมีช่องสำหรับใส่ฮาร์ดดิสก์ หรือฟลอปปี้ดิสก์ขนาด 3.5 นิ้วได้พอดีเช่นกัน
4. ไขน็อตเพื่อยึดติดกับช่องให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันการกระทบกระแทกที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อคุณเคลื่อนย้ายเคส ซึ่งอาจจะทำให้ตัวฮาร์ดดิสก์เกิดความเสียหายขึ้นได้
5. ต่อสายเคเบิลเข้าไปยังด้านหลังของฮาร์ดดิสก์ โดยหันด้านของสายที่มีสีแดงไปข้างที่เสียบสายไฟอยู่ แต่โดยปกติ สายเคเบิลนี้ก็จะมีการกำหนดมาให้อยู่แล้วว่าจะต้องเสียบเข้าไปโดยหันสายไปทางด้านใดโดยจะมีสีสันนูนขึ้นมาตรงกลาง ของสาย เพื่อเสียบลงไปที่ฮาร์ดดิสก์ที่มีช่องสำหรับใส่ได้พอดี
6. ต่อสายเคเบิลนี้เข้าไปยังคอนโทรลเลอร์คอนเน็กเตอร์ที่อยู่บนเมนบอร์ด โดยหันสายข้างที่มีสีแดงไปยังด้าที่มีตัว เลขเขียนไว้บนเมนบอร์ดว่า 1
7. เสียบสายไปที่ต่อออกมาจากพาวเวอร์ซัพพลายเข้าไปโดยเสียบด้านที่มีมุมเป็นมุมโค้งเข้าไปยังด้านที่มีมุมโค้ง เหมือนกับบนฮาร์ดดิสก์
8. จากนั้นก็เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ และเข้าไปเซตค่าของฮาร์ดดิสก์ใน CMOS
9. สำหรับคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ จะมีส่วนการทำงานที่เรียกว่า AutoDetect Harddisk อยู่แล้วใน CMOS Setup โดย คุณสามารถใช้คอมพิวเตอร์เป็นผู้ที่หาค่าต่างๆ ของฮาร์ดดิสก์ให้คุณโดยอัตโนมัติก็ได้เมื่อเรียบร้อยแล้วก็บันทึกการเปลี่ยนแปลง ภายใน CMOS ให้เรียบร้อย
10. เข้าสู่การทำงานปกติของคอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าฮาร์ดดิสก์ตัวนี้ได้รับการฟอร์แมตมาเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถใช้งาน ได้ทันที แต่ถ้ายังไม่ได้ฟอร์แมต ก็ให้บูตเครื่องด้วยแผ่นดิสก์ที่มีคำสั่ง format จากนั้นก็ใช้คำสั่งในการฟอร์แมต โดยพิมพ์คำสั่ง format c:/s ในการณีที่เป็นไดรว์ C และถ้าเป็นไดรว์อื่นๆ ก็เปลี่ยนไปตามชื่อของไดรว์นั้นแต่ฮาร์ดดิสก์ที่ซื้อใหม่มามันจะได้ รับการฟอร์แมตมาเรียบร้อยแล้ว